วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บทที่9. -요 Form...หัดผันกริยาแบบลงท้ายด้วย โย

บทที่9. -요 Form...หัดผันกริยาแบบลงท้ายด้วย โย
ก่อนหน้านี้ได้สอนการผันแบบ ㅂ 니다/습니다 (พีอึบนีดา/ซึมนีดา) ไปแล้ว ซึ่งการลงท้ายแบบนั้นมันเป็นทางการเกินไปหน่อย มาบทนี้เรามาหัดผันแบบลงท้ายด้วยโยกันดีกว่าค่ะ

การลงท้ายแบบโยเนี่ย จะให้ความสุภาพด้วยและไม่เป็นพิธีการมากเกินไป ก็เป็นภาษาที่เราใช้พูดกันธรรมดานี่แหละค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้เยอะกว่าการพูดแบบเป็นทางการอยู่แล้ว เวลาพูดกะเพื่อนฝูง พ่อแม่พี่น้อง ซื้อของ สั่งอาหาร ฯลฯ อะไรอย่างเงี้ย เกริ่นมายาวละ เข้าเรื่องดีกว่าโนะ

เช่นเคยนะคะ เวลาลงท้ายประโยคเนี่ย จะต้องมาผันกันตรงคำกริยา (เพราะกริยาจะต้องวางไว้ท้ายสุดเสมอ)

การผันกริยาแบบลงท้ายด้วยโย (ต่อไปขอเรียกว่า -요 Form นะคะ) โครงสร้างเป็นอย่างนี้ค่ะ

Vst + 아/어/여 요

เห็นโครงสร้างแล้วก็อย่าพึ่งมึน มาฟังอิชั้นอธิบายก่อน

วิธีการผันมีดังนี้นะจ๊ะ

1. ถ้า Vst ลงท้ายด้วยสระ ㅏ (อา) หรือ ㅗ (โอ) ให้เติม 아요 เข้าไป และถ้า Vst นั้นไม่มีตัวสะกด เราสามารถรวบเสียงได้

ตัวอย่าง
กริยา 가다 (คาดา) = ไป
Vst. = 가 จะเห็นได้ว่า vst ของตัวนี้ลงท้ายด้วยสระอา เพราะฉะนั้นให้เติม 아요 เข้าไป

가 + 아요 = 가아요

ยังไม่จบ กฎมีอยู่อีกนิดว่า ถ้าvst ไม่มีตัวสะกดสามารถรวมเสียงได้
ตรงนี้จาก 가아요 (คาอาโย) 가กับ아 จะรวมเสียงกันเหลือแต่ 가 ส่วน 요นั้นอยู่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นคำนี้จะได้ออกมาว่า 가요 (คาโย)

ลองแต่งประโยค

어디 가요? ออกเสียงว่า ออดี คาโย้ะ? =ไปไหนคะ

(어디 = ที่ไหน)
(ถ้าเป็นคำถามก็ให้ลงท้ายเสียงสูง)

อีกซักตัวอย่าง เพื่อความหลากหลาย

กริยา 오다 (โอ-ดา) = มา
vst. = 오 ลงท้ายด้วยสระ ㅗ เพราะฉะนั้นยังอยู่ในกฎข้อนี้ ก้อเติม 아요 เข้าไป
오+아요 = 오아요

ยังไม่จบ กฎมีอยู่อีกนิดว่า ถ้าvst ไม่มีตัวสะกดสามารถรวมเสียงได้ 오 กับ 아 พอมารวมกันก็จะได้ 와 เพราะฉะนั้นกริยาตัวนี้จะผันได้เป็น 와요 (วาโย) [สระㅗ(โอ) กับㅏ(อา) มันสามารถผสมกันได้เป็นสระ ㅘ(วา) นะจ๊ะ อย่าลืม]

ลองแต่งประโยค

친구는 집에 와요. (ชินกุนึน ชิบเบ วาโย) = เพื่อนมาที่บ้าน

친구 (ชินกู) = เพื่อน
집 (ชิบ) = บ้าน
에 (เอ) = ที่ (คำนี้ต้องตามหลังคำนาม เป็นคำชี้สถานที่)


2. ถ้า Vst ลงท้ายด้วยสระ อื่นๆ(ยกเว้น ㅏ กับ ㅗ) ให้เติม 어요 เข้าไป และถ้า Vst นั้นไม่มีตัวสะกด เราสามารถรวบเสียงได้

ตัวอย่าง

กริยา 먹다 (มอกดา) = กิน
vst = 먹 ==> ลงท้ายด้วยสระ ㅓ (สระออ) เพราะฉะนั้นจัดอยู่ในกรณีที่2 ให้เติม 어요 เข้าไป

먹+어요=먹어요 (มอกอโย) การผันกริยาก็จบเท่านี้ ไม่มีการรวบเสียง เพราะว่าvst=먹 ==> มีตัวสะกด ไม่สามารถรวบเสียงได้

ลองเอามาแต่งประโยค

원숭이는 바나나를 먹어요. (วอนซุงอีนึน พานานารึล มอกอโย) = ลิงกินกล้วย

원숭이 (วอนซุงอี) = ลิง
바나나 (พานานา) = กล้วย

อีกซักตัวอย่างนะ

กริยา 있다 (อิดตา) = มี/อยู่
vst = 있 ==> ลงท้ายด้วยสระ ㅣ (สระอี) เพราะฉะนั้นจัดอยู่ในกรณีที่2 ให้เติม 어요 เข้าไป
있+어요=있어요 (อิดซอโย) ==> กริยาก็จบเท่านี้ ไม่มีการรวบเสียง เพราะว่า vst = 있 ==> มีตัวสะกด ไม่สามารถรวบเสียงได้

ลองแต่งเป็นประโยค

애인 있어요? (แออิน อิดซอโย้ะ) = มีแฟนมั้ย? / มีแฟนรึยัง?

애인 (แออิน) = แฟน

3. ถ้าเป็นกริยา 하다 เมื่อผันในรูปของ 요 form จะกลายเป็น 해요

ตัวอย่าง

사랑하다(ซารังฮาดา/รัก) ==> 사랑해요.(ซารังแฮโย)
미안하다(มีอันฮาดา/ขอโทษ) ===> 미안해요.(มีอันแฮโย)
감사하다(คัมซาฮาดา/ขอบคุณ) ===> 감사해요.(คัมซาแฮโย)
공부하다(คงบูฮาดา/เรียน)===> 공부해요.(คงบูแฮโย)



มาต่อเรื่องวิธีการจบประโยคแบบ 요 อีกนิดนะคะ นอกจากกฏการผัน3ข้อหลักๆแล้ว ยังมีกริยาอีกส่วนนึงที่จะต้องมีการผันแบบพิเศษค่ะ (คือไม่อยู่ในกฏ3ข้อหลัก) มีอะไรกันบ้างมาดูกันค่ะ

1. vst.ที่ลงท้ายด้วยสระㅡ (สระอือ) จะมีกฏการผันคือว่า ต้องตัดสระอือทิ้งไปก่อน แล้วไปดูสระในพยางค์หน้าว่าอยู่ในกลุ่มใด(ตามกฏหลัก) แล้วเลือกเติม -ㅏ요 หรือ -ㅓ요 ต่อไป มาดูตัวอย่างกันค่ะ

กริยา 예쁘다 (เยปือดา/สวย)
vst = 예쁘 (นี่แหละค่ะ ลงท้ายด้วยสระอือ)
- ขั้นแรกให้ตัดสระอือทิ้งไปก่อน ย้ำ ตัดเฉพาะสระอือ ก็จะเหลือ ==> 예ㅃ อย่างงี้
- ต่อจากนั้นให้ไปดูสระของพยางค์หน้าค่ะ ว่าอยู่ในกลุ่มไหน
(ตามกฏหลักในบทก่อนหน้านี้ สระจะแบ่งเป็น3กลุ่ม กลุ่ม1 สระㅏ,ㅗ ให้เติม아요 ส่วนกลุ่มที่2คือสระที่ไม่ใช่ ㅏ,ㅗ ให้เติม 어요)
ในกรณีนี้ สระของพยางค์หน้าคือ ㅖ ซึ้งเป็นสระกลุ่ม2ก็ให้เติม ㅓ요เข้าไปค่ะ
예ㅃ+ㅓ요=예뻐요 (เย-ปอ-โย)

v.ที่อยู่ในกลุ่มนี้ที่ใช้บ่อยๆหน่อยก็มีไม่กี่ตัวหรอกค่ะ ที่ควรทราบก้อมีดังนี้

예쁘다 ===> 예뻐요 (เย-ปอ-โย/สวย)
슬프다 ===> 슬퍼요 (ซึล-พอ-โย/เศร้า)
바쁘다 ===> 바빠요 (พา-ปา-โย/ยุ่ง)
고프다 ===> 고파요 (โค-พา-โย/หิว)
모르다 ===> 몰라요 (โมล-ลา-โย/ไม่รู้)

2. vst ที่ㅂ เป็นตัวสะกด กฎการผันคือ ตัดㅂที่เป็นตัวสะกดทิ้งไปแล้วเติม워요เข้าไปก็เป็นอันเสร็จพิธี

ตัวอย่างค่ะ

맵다 (แม็บ-ดา/เผ็ด)
vst = 맵 อันนี้ก็จะเห็นได้ว่า ㅂ เป็นตัวสะกด ก็จะต้องมาเข้ากฏการผันพิเศษในข้อนี้ค่ะ

ขั้นแรกตัดㅂ ที่เป็นตัวสะกดทิ้งไป ก็จะเหลือ 매
หลังจากนั้นให้เติม워요 เข้าไป ก็จะได้ 매+워요=매워요 (แม-วอ-โย) ก้อเรียบร้อยค่ะ

ลองมาดูคำศัพท์ที่จะต้องเข้ากลุ่มนี้

맵다 = 매워요 (แม-วอ-โย/เผ็ด)
덥다 = 더워요 (ทอ-วอ-โย/ร้อน ใช้กับอากาศ)
춥다 = 추워요 (ชู-วอ-โย/หนาว)
가깝다 = 가까워요 (คา-กา-วอ-โย/ใกล้)
아깝다 = 아까워요(อา-กา-วอ-โย/เสียดาย)
그립다 = 그리워요 (คือ-รี-วอ-โย/คิดถึง)
밉다 = 미워요 (มี-วอ-โย/เกลียด)
어렵다 = 어려워요 (ออ-รยอ-วอ-โย/ยาก)
쉽다 = 쉬워요 (ซวี-วอ-โย/ง่าย)
더렵다 = 더려워요 (ทอ-รยอ-วอ-โย/สกปรก)
무겁다 = 무거워요 (มู-กอ-วอ-โย/หนัก)
가볍다 = 가벼워요 (คา-พยอ-วอ-โย/เบา)
즐겁다 = 즐거워요 (ชึล-กอ-วอ-โย/สนุก สุข เบิกบาน)

ไปๆมาๆก็เยอะเหมือนกันนะเนี่ย อ่ะข้อสุดท้าย

3. กริยาที่สะกดด้วย ㄷ บางตัว จะต้องผันพิเศษโดยการเปลี่ยนตัวสะกดจาก ㄷ เป็น ㄹ แล้วค่อยผันต่อไป ซึ่งกริยาที่ผันพิเศษในข้อนี้ขอให้รู้ไว้แค่2ตัวนี้เป็นพอ

걷다 ==> 걸어요 (คอ-รอ-โย/เดิน)
듣다 ===> 들어요 (ทึล-รอ-โย/ฟัง)

ไม่มีความคิดเห็น: